โครงการบรรพชาสามเณร #ศูนย์กัลยาณมิตรแก้วระนอง #ศูนย์ส่งเสริมศีลธรรมจังหวัดระนอง #ศูนย์ปฏิบัติธรรมแก้วระนอง #ธรรมะปรีดา #สมาธิ
เยาวชนคืออนาคตของชาติ
เยาวชนคืออนาคตของชาติ
•จากสถานการณ์ปัจจุบัน สื่อสังคมออนไลน์มีอิทธิพลต่อทุกชีวิตของครอบครัว การถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารโดยขาดการใช้วิจารณญาณส่งผลให้แต่ละคนแยกตัวเองออกมาจากสังคมปกติ และยังส่งผลกระทบต่อคุรภาพการศึกษา อันเนื่องมาจากขาดวินัยในตนเอง ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว เกิดความคิดเห็นแตกแยก โดยได้รับข้อมูลไม่ครบรอบด้าน ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์กลายเป็น ปัญหาสังคม แบบไม่รู้จบ
การบรรพชาสามเณรทั่วไทย เป็นการสร้างพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมใหม่ให้กับเยาวชน หลังลาสิกขาจึงเป็นการปรับพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยให้เข้าสู่วิถีชีวิตที่ดีงาม เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองดีของชาติและเกิดพลังสืบสานพระพุทธศาสนาสืบไป
สามเณร
วัตถุประสงค์
1. เพื่อปลูกฝัง ความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความสามัคคี ในหมู่เยาวชน ให้มีจิตสาธารณะ ใฝ่สันติ และมีที่พึ่งอย่างแท้จริงในตนเอง2. เพื่อหล่อหลอมเด็กและเยาวชนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติให้เป็นคนดีมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์จนติดเป็นนิสัย
3. เพื่อปรับพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยให้เข้าสู่วิถีชีวิตที่ดีงามโดยการสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่
4. เพื่อสร้างภุมิคุ้มกันให้เด็กและเยาวชนไทยรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมพหุวัฒนธรรม
5. เพื่อตระหนักรู้ในคุณค่าของประเพณี วัฒนธรรมไทยและสามารถนำไปใช้ได้อย่างภาคภูมิ
6. เพื่อส่งเสริมสนับสนุน และสร้างความตระหนักรู้ให้กับเด็กและเยาวชนไทย ในคุณค่าของประเพณีวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมชาวพุทธ และสามารถนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา การปฏิบัติตามหลักศีล 5 ไปใช้ในวิถีชีวิตได้อย่างภาคภูมิ
กิจกรรมบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน
กิจกรรมบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ประจำปี ณ ศูนย์อบรม ศูนย์กัลยาณมิตรแก้วระนอง ต.บางนอน อ.เมือง จังหวัดระนอง
กิจกรรมตัดปอยผม ปลงผมให้กับนาคธรรมทายาท เป็นหนึ่งในศูนย์อบรม เหล่านาคธรรมทายาทจากหลายโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม อาทิเช่น โรงเรียนชาติเฉลิม โรงเรียนบ้านบางนอน โรงเรียบอุปนันทาราม และโรงเรียนสตรีระนอง บรรยากาศ โดยมีพระปรีดา ธีรกุโล ประธานส่งเสริมศีลธรรมจังหวัดระนองประธานสงฆ์ และคณะสงฆ์ตัดปอยผมเป็นปฐมฤกษ์ ต่อด้วยคณะครู ผู้ปกครองและหมู่ญาติมาร่วมพิธีตัดปอยผม ปลงผมในภาคบ่าย ณ ศูนย์กัลยาณมิตรแก้วระนอง นาคธรรมทายาทตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเอง ผู้ปกครองมาร่วมงานพร้อมใจกันนั่งสมาธิ กลั่นจิตใจ อธิษฐานจิต ร่วมพิธี
สร้างความดี
สามเณร
แปลว่า เหล่ากอของสมณะ หน่อเนื้อของสมณะ หมายถึง นักบวชชายในพระพุทธศาสนาที่มีอายุน้อย ยังมิได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
ผู้ที่จะบวชเป็นสามเณร คือ ผู้สั่งสมบุญเก่ามาในอดีตไว้ดีแล้ว จึงได้มีโอกาสมาบวชฝึกฝนตนเอง ศึกษา ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตั้งแต่เยาว์วัย เช่น สามเณรนิโครธ
สามเณรนิโครธ ในอดีตพระเจ้าอโศกมหาราชได้เคยผลาญชีวิตผู้คนจากการสู้รบมามาก และศรัทธานักบวชนอกพุทธศาสนามาก่อน จนกระทั่งวันหนึ่ง ขณะพระเจ้าอโศกประทับยืนอยู่ที่สีหบัญชร (หน้าต่าง) ได้ทอดพระเนตรเห็นสามเณรนิโครธ ผู้ฝึกฝนตนเองมาดี มีอินทรีย์สงบ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ กำลังเดินผ่านไปทางพระลานหลวงทำให้เกิดความเลื่อมใสในสามเณรมาก จึงรับสั่งพวกอำมาตย์ให้ไปนิมนต์สามเณรเข้ามาในพระราชมณเฑียร เมื่อได้ถวายภัตตาหารและไต่ถามธรรม จึงทรงเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต ทรงเปลี่ยนพระองค์เองให้ทรงธรรม และเปลี่ยนแว่นแคว้นให้เป็นอาณาจักรแห่งธรรม ผลงานพระเจ้าอโศกมหารราชที่เด่นชัดที่สุด คือทรงบุกเบิกขยายธรรมะกว้างไกลด้วยการส่งสมณทูตเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไปยังดินแดนต่างๆ ทำให้เกิดแนวทางแก่อนุชนรุ่นหลังในการปักหลักพระพุทธศาสนาที่เป็นปึกแผ่นมาจนถึงปัจจุบัน
เรื่องราวของความดี และวิถีชีวิตของคนดี ยังสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการทำความดีอย่างกว้างขวางต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนอย่างชัวิตของสามเณรนิโครธที่นึกถึงคราใดก็ปลื้มใจทุกครั้ง เพราะท่านเป็นต้นเหตุให้พุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาถึงยุคของพวกเรา
ในโลกการสื่อสารไร้พรมแดนนี้เป็นต้นไป ทุกๆ ภาพแห่งการทำความดีของพวกเรา อย่างการมาบวชสามเณร จะเป็นภาพที่งดงามที่สุดกว่าภาพใดๆ ที่จะตราตรึงอยุ่ในจิตใจของชาวโลก อยากมาแสวงหาสันติสุขที่แท้จริง....
แห่นาค
การบรรพชาเป็นสามเณรมีมาแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสให้
พระสารีบุตรพุทธสาวก ทรงบรรพชาให้กับ สามเณร "ราหุล" ผู้เป็นพุทธบุตร นับเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนาและ ถือเป็นประเพณีนิยมในพระพุทธศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่มารดา-บิดานำบุตรหลานที่เป็นชายอายุยังไม่ถึงเบญจเพศ คือ ๒๐ ปีบริบูรณ์ เข้าไปรับการ บรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งแต่โบราณกาลมานั้น การที่จะได้เล่าเรียนเขียนอ่านตำรับตำรา ต้องอาศัยวัดเป็นสถานที่เล่าเรียนให้กับกุลบุตร และจำเป็นต้อง บรรพชาเป็น สามเณรก่อนจึงจะได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระเถระ เพื่อที่จะได้ เข้าไปอยู่ในวัดตามธรรมเนียม วัดจึงเป็นทั้งบ้าน โรงเรียน และศูนย์ฝึกหัดฝีมือ ทุกแขนงของ สามเณร